ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้
1. ละติจูด พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปครอบคลุมเขตอากาศร้อน และประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทวีปเป็นอากาศแบบอบอุ่น ภูมิภาคทางเหนือของทวีปจะมีฤดูกาลที่ตรงข้ามกับภูมิภาคทางใต้
2. ลมประจำ ได้แก่
1. ละติจูด พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปครอบคลุมเขตอากาศร้อน และประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทวีปเป็นอากาศแบบอบอุ่น ภูมิภาคทางเหนือของทวีปจะมีฤดูกาลที่ตรงข้ามกับภูมิภาคทางใต้
2. ลมประจำ ได้แก่
- ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ
พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุ่มชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ
- ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้
พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
- ลมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีป ตั้งแต่ประมาณละติจูด 40 องศาใต้ลงไป
3. ทิศทางของเทือกเขา ทวีปอเมริกาใต้มีเทือกเขาสูงอยู่ทางตะวันตกของทวีป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่กั้นขวางอิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทร ทำให้บริเวณที่ใกล้เทือกเขาค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งด้านตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่
4. กระแสน้ำ มี 3 สายที่สำคัญ คือ
- กระแสน้ำอุ่นบราซิล
ไหลเลียบชาวยฝั่งของประเทศบราซิล
- กระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์
ไหลเลียบชายฝั่งประเทศอาร์เจนตินา
- กระแสน้ำเย็นเปรู
(ฮัมโบลด์) ไหลเลียบชายฝั่งประเทศเปรูและชิลี
เขตภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น
8 เขต ดังนี้
1.
ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน
เป็นบริเวณที่มีอากาศเย็น
ป่าดิบชื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่ประเทศบราซิล
มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีประมาณ 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
2.
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่
บริเวณตอนเหนือและใต้ของลุ่มแม่น้ำแอมะซอน มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง
ฤดูร้อนมีฝนตกแต่ไม่ชุกเหมือนในเขตป่าดิบชื้น อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส
มีลักษณะอากาศคล้ายกับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
3.
ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ ภาคใต้ของเปรูและภาคเหนือของชิลี
เป็นบริเวณที่ร้อนและแห้งแล้งมาก มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี
และบางครั้งฝนไม่ตกยาวนานติดต่อกันหลายเดือน ทะเลทรายที่สำคัญในบริเวณนี้ได้แก่
ทะเลทรายอะตากามาในประเทศชิลี ในบริเวณนี้มีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อปี
บางครั้งฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี
จัดเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
4.
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่
ทางตะวันออกของประเทศอาร์เจนตินาจนถึงที่ราบสูงปาตาโกเนีย อุณหภูมิไม่สูงนักเฉลี่ย
18 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนมีอากาศร้อน
ปริมาณฝนน้อยประมาณ 500 มิลลิเมตรต่อปี
5.
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
ตอนกลางของประเทศชิลี ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีฝนตก
6.
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ตั้งแต่ตอนใต้ของบราซิล
ปารากวัย อุรุกกวัย และตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา
อากาศในบริเวณนี้ไม่แตกต่างกันมากนัก ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนมีฝนตกเฉลี่ย 750 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
7.
ภูมิอากาศแบบภาคฟื้นสมุทร ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลอากาศหนาวจัด
มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ร่วงเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี
8.
ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส
เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่ คือ
บริเวณที่ราบมีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุก เมื่อสูงขึ้นอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนจะลดลงไปเรื่อย
ๆ ยิ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 15
องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตรต่อปี
ในขณะที่ประเทศอื่นที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สุตร แต่ตังอยู่บนที่ราบ (เช่น มาเลเซีย
มีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซียส และมีฝนตกชุกตลอดทั้งปีสูงกว่า
2,500 มิลลิเมตรต่อปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น