วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ลักษณะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม

การทำเกษตรกรรม
  • จากลักษณะอากาศของทวีป เหมาะกับการปลูกพืชเมืองร้อน เช่น กาแฟ กล้วย โกโก้ อ้อย ยาสูบ โดยเฉพาะกาแฟมีผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บราซิลและโคลัมเบีย
  • บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา ปารากวัย อุรุกวัย มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวสาลี เนื่องจากอยู่ในเขตอบอุ่นและเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในเขตประเทศอาร์เจนตินา
  • การเพาะปลูกในทวีปมีทั้งการเพาะปลูกเป็นไร่การค้าขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เอสตันเซีย และมีการเพาะปลูกแบบยังชีพ
การเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ในทวีปอเมริกาใต้กระทำอย่างกว้างขวาง ดังนี้
  • ทุ่งหญ้าปามปัส เป็นเขตปศุสัตว์ขนาดใหญ่ มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
  • ทุ่งหญ้ายาโนส (Llanos) และทุ่งหญ้าแกมโปส (Campos) เป็นเขตเลี้ยงโคเนื้อ
  • ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย บริเวณที่ราบสูงปาตาโกเนีย มีการเลี้ยงแกะพันธุ์ขน
ประเทศที่ส่งเนื้อสัตว์เป็นสินค้าออกจำนวนมาก คือ ประเทศอาร์เจตินา อุรุกวัย บราซิล

การประมง
แหล่งประมงที่สำคัญของทวีป คือ บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูและชิลี ซึ่งมีกระแสน้ำเย็นเปรู (ฮัมโบลด์) ไหลผ่าน มีปลาแอนโชวีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการจับปลาตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ โดยชาวพื้นเมืองอีกด้วย แต่เป็นการจับปลาเพื่อยังชีพ

การป่าไม้
การทำป่าไม้ในทวีปมีไม่มากนักเนื่องจากความไม่สะดวกในการคมนาคมและการขนส่ง เขตที่มีความสำคัญในการทำป่าไม้ คือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล

การทำเหมืองแร่

ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งผลิตพืชเมืองร้อนและสินแร่ การทำเหมืองแร่มีความสำคัญรอง จากการทำเกษตรกรรม โดยมีแหล่งแร่ที่สำคัญดังนี้
- น้ำมัน ในเวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ บราซิล
- เหล็ก ถ่านหิน ในบราซิล
- ไนเตรท ในภาคเหนือของชิลี
- บอกไซด์ ในเกียนา ซูรินาเม

อุตสาหกรรม
การอุตสาหกรรมในทวีปยังไม่ค่อยมีความเจริญมากนัก เนื่องจากขาดเงินทุน และยังต้องอาศัยความร่วมมือและการร่วมลงทุนจากต่างชาติ ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม คือ อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี เวเนซุเอลา 

ลักษณะภูมิอากาศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้
1. ละติจูด พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปครอบคลุมเขตอากาศร้อน และประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทวีปเป็นอากาศแบบอบอุ่น ภูมิภาคทางเหนือของทวีปจะมีฤดูกาลที่ตรงข้ามกับภูมิภาคทางใต้
2. ลมประจำ ได้แก่
  • ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุ่มชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
  • ลมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีป ตั้งแต่ประมาณละติจูด 40 องศาใต้ลงไป 

3. ทิศทางของเทือกเขา ทวีปอเมริกาใต้มีเทือกเขาสูงอยู่ทางตะวันตกของทวีป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่กั้นขวางอิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทร ทำให้บริเวณที่ใกล้เทือกเขาค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งด้านตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

4. กระแสน้ำ มี 3 สายที่สำคัญ คือ
  • กระแสน้ำอุ่นบราซิล ไหลเลียบชาวยฝั่งของประเทศบราซิล
  • กระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์ ไหลเลียบชายฝั่งประเทศอาร์เจนตินา 
  • กระแสน้ำเย็นเปรู (ฮัมโบลด์) ไหลเลียบชายฝั่งประเทศเปรูและชิลี
เขตภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 8 เขต ดังนี้
1.            ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน เป็นบริเวณที่มีอากาศเย็น ป่าดิบชื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่ประเทศบราซิล มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีประมาณ 2,000 มิลลิเมตรต่อปี 
2.            ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและใต้ของลุ่มแม่น้ำแอมะซอน มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูร้อนมีฝนตกแต่ไม่ชุกเหมือนในเขตป่าดิบชื้น อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีลักษณะอากาศคล้ายกับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 
3.            ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ ภาคใต้ของเปรูและภาคเหนือของชิลี เป็นบริเวณที่ร้อนและแห้งแล้งมาก มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี และบางครั้งฝนไม่ตกยาวนานติดต่อกันหลายเดือน ทะเลทรายที่สำคัญในบริเวณนี้ได้แก่ ทะเลทรายอะตากามาในประเทศชิลี ในบริเวณนี้มีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อปี บางครั้งฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี จัดเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 
4.            ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่ ทางตะวันออกของประเทศอาร์เจนตินาจนถึงที่ราบสูงปาตาโกเนีย อุณหภูมิไม่สูงนักเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนมีอากาศร้อน ปริมาณฝนน้อยประมาณ 500 มิลลิเมตรต่อปี 
5.            ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางของประเทศชิลี ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีฝนตก 
6.            ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ตั้งแต่ตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกกวัย และตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา อากาศในบริเวณนี้ไม่แตกต่างกันมากนัก ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนมีฝนตกเฉลี่ย 750 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี 
7.            ภูมิอากาศแบบภาคฟื้นสมุทร ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลอากาศหนาวจัด มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ร่วงเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี

8.            ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่ คือ บริเวณที่ราบมีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุก เมื่อสูงขึ้นอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนจะลดลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 15 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตรต่อปี ในขณะที่ประเทศอื่นที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สุตร แต่ตังอยู่บนที่ราบ (เช่น มาเลเซีย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซียส และมีฝนตกชุกตลอดทั้งปีสูงกว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาใต้สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะได้แก่
1. เขตเทือกเขาตะวันตก ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส ซึ่งทอดตัวยาวขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่ทางเหนือบริเวณทะเลแคริบเบียนไปจนถึงแหลมฮอร์นทางตอนใต้ มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร เป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก ยอดเขาสูงที่สุดในบริเวณนี้ คือ ยอดเขาอะคองคากัว สูงประมาณ 6,924 เมตร บริเวณตอนกลางของเทือกเขามีที่ราบสูงที่สำคัญคือ ที่ราบสูงโบลิเวีย มีความสูงถึง 4,500 เมตร และมีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากที่ราบสูงทิเบต บนที่ราบสูงแห่งนี้มีทะเลสาบซึ่งเป็นทะเลสาบที่สูงที่สุดในโลก ได้แก่ ทะเลสาบติติกากา ในประเทศเอกวาดอร์ 
บริเวณเทือกเขาแอนดีส

2. เขตที่ราบสูงตะวันออก ประกอบด้วยที่ราบสูงสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงกิอานา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศเวเนซูเอลา กายอานาซูรินาเม เฟรนซ์เกียนา และภาคเหนือของบราซิล มีลักษณะที่เป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาสลับซับซ้อน  ที่ราบสูงบราซิล ตั้งอยู่ตอนกลางของทวีป บริเวณตะวันออกของประเทศบราซิล ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา และที่ราบลุ่มแม่น้ำปารากวัย ทางตะวันออกมีความสูงชัน จากนั้นค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางตะวันตก ที่ราบสูงปาตาโกเนีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป ในเขตประเทศอาร์เจนตินาทางตะวันออกค่อนข้างราบเรียบและค่อย ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทางตะวันตก

3. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ อยู่บริเวณตอนกลางของทวีป เป็นที่ราบดินตะกอนที่มีความอุดมสมบูรณ์และกว้าง ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่ราบสูงทางตะวันออก เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้มี 2 บริเวณได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนหรืออเมซอน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ส่วนมากมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีสและไหลสู่มหาสมุทรแอตแลนติก แม่น้ำที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือ แม่น้ำแอมะซอน ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโค อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศโคลอมเบีย และเวเนซุเอลา บริเวณนี้เป็นเขตเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้

แม่น้ำที่สำคัญในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่
  • แม่น้ำแอมะซอน มีความยาว 6,440 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส ไหลผ่านประเทศบราซิล ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
แม่น้ำแอมะซอน
  • แม่น้ำปารานา มีความยาว 2,800 กิโลเมตรมีต้นกำเนิดจากที่สูงทางตะวันออกของทวีป ไหลผ่านประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณอ่าวริโอเดอลาพลาตาแม่น้ำปารากวัย มีความยาว 2,550 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากที่สูงในประเทศบราซิลไหลผ่านประเทศบราซิล ปารากวัยไปรวมกับแม่น้ำปารานาในเขตประเทศอาร์เจนตินา

ขนาดที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

            ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 299 ล้านคน รูปร่างของทวีปอเมริกาใต้คล้ายคลึงกับทวีปอเมริกาเหนือ คือ มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีฐานกว้างอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนยอดสามเหลี่ยมอยู่ทางทิศใต้

ตั้งอยู่ในแถบซีกโลกใต้ ระหว่างละติจูด 12 องศา 25 ลิปดาเหนือ ถึง 56 องศาใต้และลองติจูด 34 องศา 47 ลิปดาตะวันตก ถึง 81 องศา 20 ลิปดาตะวันตก อาณาเขตของทวีปอเมริกาใต้มีดังนี้

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีคลองปานามาเป็นเส้นกั้นเขตแดนและติดต่อกับทะเลแคริบเบียน ในมหาสมุทรแอตแลนติก จุดเหนือสุดอยู่ที่แหลมกายีนาส ในประเทศโคลอมเบีย
ทิศใต้ ติดกับทวีปแอนตาร์กติกา มีช่องแคบเดรกเป็นเส้นกั้นเขตแดน จุดใต้สุดอยู่ที่แหลมโฟร์วาร์ด ในคาบสมุทรบรันสวิก ประเทศชิลี
ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันออกสุดอยู่ที่แหลมโคเคอรูส ในประเทศบราซิล
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก จุดตะวันตกสุดอยู่ที่แหลมปารีนเยสในประเทศเปรู 

                                        ตารางแสดงประเทศในทวีปอเมริกาใต้           

ประเทศ
ประชากร
(1 กรกฎาคม 2548)
  214,970
    765,283
3.6
1,138,910
 42,954,279
37.7
  756,950
 15,980,912
21.1
  163,270
    438,144
2.7
8,514,877
187,550,726
22.0
1,098,580
  8,857,870
8.1
  406,750
  6,347,884
15.6
1,285,220
 27,925,628
21.7
  912,050
 25,375,281
27.8
   12,173
      2,967
0.24
2,766,890
 39,537,943
14.3
  176,220
  3,415,920
19.4
  283,560
 13,363,593
47.1
    3,093
          0
0
   91,000
    195,506
2.1

ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้



             ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น
ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

             หลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีคนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ประมาณ 12,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพบเครื่องมือหินและเครื่องใช้ที่ทำด้วยหนังสัตว์ในประเทศชิลี กระทั่ง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศเปรูปัจจุบันมีวัฒนธรรมนาสคา เกิดขึ้นโดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์และมีการใช้เครื่องประดับ
ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปเอเชียเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบแบริง แล้วเดินทางลงใต้ผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้เช่นปัจจุบัน ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือจึงมีความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติ โดยในเปรูชนพื้นเมืองอินเดียนได้สร้างอาณาจักรอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองคุชโกเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร
ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทสโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนในทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอล่า ให้เป็นอิสระจากสเปนและปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากประเทศโปรตุเกสในลำดับถัดมา
ในปี พ.ศ. 2525 เกิดสงครามฟอล์กแลนด์ระหว่างประเทศอาร์เจนตินาและอังกฤษเพื่อแย่งชิงเกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นฝ่ายชนะและยังคงยึดครองเกาะฟอล์กแลนด์จนกระทั่งปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่ยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้